วรรณกรรมพื้นบ้านของภาคต่างๆ


 วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ
แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ

 วรรณกรรมของภาคเหนือ เช่น
 ตำนานจามเทวี

เป็นตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของอาณาจักหริภุญไชยและล้านนา ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๙ ถึง พ.ศ.๒๐๖๘ ในยุคสมัยสมัยของพระญาเมืองแก้ว แห่งราชวงศ์มังราย ปรากฏทั้งเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะในสำนวนชาวบ้านและวรรณกรรมลายลักษณ์ เป็นเรื่องราวของพระนางจามเทวี ที่เกี่ยวกับประวัติการเข้ามาของพุทธศาสนาในเขตหริภุญไชย และเรื่องราวความเป็นมาของเมืองหริภุญไชย โดยเริ่มเรื่องตามธรรมเนียมของตำนานศาสนาทั่วไปที่เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าเพื่อมาโปรดเวไนยสัตว์ในอาณาจักรหริภุญไชย
 วรรณกรรมของภาคกลาง เช่น
 ตำนานแม่นากพระโขนง
เป็นนิทานเรื่องผีของภาคกลาง ลักษณะเด่นของแม่นาคพระโขนงอยู่ที่เป็นนิทานเรื่องผี แสดงอภินิหารให้ปรากฏ คนจึงอยากรู้อยากเห็นตลอดมา นอกจากนี้ยังแสดงถึงความรักแท้ของหญิงไทย ซึ่งรักสามีเมื่อมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายไปก็ยังกลับมาปรากฏร่าง ทำหน้าที่ภรรยา และคุ้มครอง สามี ลูก ทรัพย์สมบัติของครอบครัว ในท้ายที่สุดตำนานเรื่อง แม่นากพระโขนง” แสดงลักษณะเด่นของคำสอนทางศาสนาพุทธ ที่แสดงว่า ธรรมย่อมชนะอธรรม” และการหมดสิ้นบาปกรรมก็คือการอโหสิกรรม ยอมรับชะตากรรม ประพฤติตนเป็นคนดี เพื่อหวังผลจะได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี
วรรณกรรมของภาคใต้ เช่น
 ตำนานหลวงพ่อทวด

 ตำนานหลวงปู่ทวดหรือหลวงพ่อทวดเป็นตำนานชีวประวัติของหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ หรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด จังหวัดปัตตานี ปรากฏอยู่ทั้งในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในตำนานและความเชื่อ และในปัจจุบันยังมีการนำเสนอในรูปแบบสื่อสมัยใหม่ เช่น วีซีดีชีวประวัติของหลวงปู่ทวด เป็นต้น
การดำรงคงอยู่ของตำนานหลวงปู่ทวดที่ปรากฏในสื่อต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความเคารพและศรัทธาที่พุทธศาสนิกชนไทยมีต่อหลวงปู่ทวดยังคงอยู่ สะท้อนความเชื่อของคนไทยในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงปู่ทวด ทั้งทางด้านเมตตามหานิยม ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ด้านอยู่ยงคงกะพัน ด้านแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง 
วรรณกรรมของภาคอีสาน เช่น
ตำนานพญาคันคาก 

ตำนานพญาคันคากนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพของพระโพธิสัตว์คันคาก สะท้อนให้เห็นพลังศรัทธาความเชื่อทางพุทธศาสนา ที่ผสมผสานกับคติความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีแถน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนา กับพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ในวิถีชีวิตของชาวนาในวัฒนธรรมข้าว ที่ต้องอาศัยนํ้าฟ้านํ้าฝนในการผลิตธัญญาหาร ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่า ตำนานพญาคันคากเป็นข้อมูลทางวัฒนธรรมที่สามารถใช้บ่งบอกให้เห็นชีวิตพื้นบ้านที่ดำรงอยู่ในวิถีแห่งวัฒนธรรมการเกษตรในสังคมท้องถิ่นไทยได้เป็นอย่างดี
ในท้องถิ่นอีสาน พบว่า ตำนานพญาคันคาก ยังคงมีบทบาทสำคัญและดำรงอยู่ในวิถีชีวิตอีสาน นับตั้งแต่อดีตมามีความนิยมนำตำนานพญาคันคากมาให้พระใช้เทศน์ในพิธีกรรมการขอฝน และใช้เทศน์ร่วมในพิธีจุดบั้งไฟขอฝนด้วยเหตุนี้ ตำนานพญาคันคากในมุมมองของชาวอีสานจึงถือว่าเป็นวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องเล่าที่ใช้อธิบายที่มาของประเพณีการจุดบั้งไฟในเดือนหก ซึ่งถือเป็นประเพณีอันสำคัญใน ฮีตสิบสอง” (จารีตประเพณีสิบสองเดือน) ที่ยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น