ภาษาเหนือ

 หากเราได้ไปเที่ยวทางภาคเหนือ  ไม่ว่าจะไปเที่ยวในฤดูหนาว  เที่ยวสงกรานต์  หรือมาสูดอากาศสดชื่นนั้น  เมื่อเราได้เข้าไปในเขตชุมชน  ย่อมได้ยินประโยคที่ชาวบ้านเค้าพูดกันหลากหลายครับ  บางคนพูดเร็ว บางคนพูดช้า  ยิ่งคนที่ไม่รู้ภาษาเหนืออย่างเราด้วยแล้ว  กว่าจะทำความเข้าใจคงต้องให้ชาวบ้านเค้าแปลภาษาคำเมืองเป็นภาษาไทยอีกทีนึงแน่ๆ ฮ่า ฮ่า!! แต่คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย  ถ้าเรารู้ความหมายของภาษาเหนือ
บางประโยค  ที่เค้าพูดกันบ่อยๆนั้น  เพื่อที่เราจะได้สื่อสารกับเค้าได้ไม่มากก็น้อย 

คนภาคเหนือก็ใจดีเหมือนกับคนไทยทุกๆภาคนั่นแหล่ะครับ  เจอใครก็ทักทายกันบ้าง แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดนั่นก็คือ  คนภาคเหนือมักจะทักทายกันด้วยคำว่า "
กิ๋นข้าวแล้วกา (กินข้าวหรือยัง)" ซึ่งผู้เขียนคาดว่าคงเป็นกุสโลบายที่พูดติดปากกันมาตั้งแต่สมัยอดีต เพราะการถามเรื่องการข้าวนั้น จะมีความหมายกว้างไปถึงเรื่องของการอยู่ดีมีสุข มีอยู่ มีกินนั่นเอง  และอีกนัยหนึ่งน่าจะเป็นเพราะคนสมัยโบราณนั้น  ต้องกินข้าวก่อนไปทำงาน  จะได้มีเรี่ยวแรงในการทำงานนั่นเอง  
ตัวอย่างประโยคภาษาเหนือที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ
1.ไปตางได  วันนี้ ?
(  วันนี้จะไปไหนเหรอ ? )

2.มาหาไผเจ้า ?
(  มาหาใครค่ะ ? )

3.กิ๋นข้าวกับหยัง ?
(  กินข้าวกับอะไร ? )

4.กิ๋นข้าวแล้วกา ?
(  กินข้าวหรือยัง ? )

5.ซื้อข้าวนึ่งจิ่มเจ้า
(  ซื้อข้าวเหนียวหน่อยค่ะ  )

6.อำเภอสารพีไปตางไดเจ้า ?
(  อำเภอสารภีไปทางไหนค่ะ ?  )

7.คนอะหยังจะได  หยังมาหมั่นแต๊หมั่นว่า
(  คนอะไร๊  ขยันจริงๆ ขยันสุดๆ  )

8.จะไปอู้กั๋นดังเน้อ
(  อย่าส่งเสียงดัง  )

9.พริกแด้นี่ขายหยั่งไดเจ้า ?
(  พริกขี้หนูนี่ขายยังไงค่ะ ? )

10.บ่ะหน้อแหน้นี่  โลเต้าไดเจ้า ?

(  น้อยหน่านี่กิโลละเท่าไหร่ค่ะ ?  )

   



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น